หลักเกณฑ์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. 2561) ของ การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น

หลักทั่วไป

1. การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นตามหลักเกณฑ์นี้เป็นการถ่ายเสียงภาษาญี่ปุ่นที่เขียนด้วยอักษรโรมันเท่าที่อักษรโรมันจะแสดงได้ โดยถ่ายเสียงสระและเสียงพยัญชนะตามที่ออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นมาตรฐานหรือภาษาโตเกียว และมีตารางเทียบเสียงพยัญชนะและเสียงสระแสดงไว้ อย่างไรก็ตาม ในภาษาญี่ปุ่นมีการเน้นเสียงซึ่งอาจทำให้เสียงหรือความหมายเปลี่ยนไปบ้าง การเน้นเสียงนั้นสามารถตรวจสอบได้ในพจนานุกรมที่แสดงเครื่องหมายกำกับไว้ นอกจากนี้ยังอาจมีการลดเสียงบางเสียง แต่ในหลักเกณฑ์นี้ไม่ได้นำเรื่องการเน้นเสียงและการลดเสียงมาพิจารณา

2. การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นตามหลักเกณฑ์นี้พยายามเขียนให้ใกล้เคียงกับเสียงในภาษาญี่ปุ่นเท่าที่อักขรวิธีไทยจะเอื้ออำนวยและรองรับได้ ในกรณีที่ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงได้ 2 แบบ ก็ให้ใช้ได้ทั้ง 2 แบบ เช่น Nippon = นิปปง, นิปปน ในกรณีที่ไม่สามารถใช้อักขรวิธีไทยเขียนได้ ก็จะเลือกตัวอักษรที่อ่านง่ายเขียนง่าย เช่น tsu = สึ

3. ระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้อักษรโรมันเพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถอ่านได้มีหลายระบบ หลักเกณฑ์นี้ใช้ระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นหลัก เนื่องจากเป็นระบบเขียนที่ใกล้เคียงกับเสียงมากที่สุด และเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ระบบอื่น จึงได้นำอักษรโรมันที่ถอดตามระบบอื่นมาใส่ไว้ในตารางด้วยโดยเรียงตามลำดับอักษร

อักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นอักษรโรมันที่ใช้เขียนภาษาญี่ปุ่นระบบหนึ่งซึ่งเน้นเสียงเป็นหลัก เริ่มใช้ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยเมจิ เป็นระบบการเขียนซึ่งแพทย์และนักสอนศาสนาชาวอเมริกันชื่อ เจมส์ เคอร์ติส เฮ็ปเบิร์น (ค.ศ. 1815–1911) ริเริ่มคิดขึ้นและใช้ในการจัดทำพจนานุกรมญี่ปุ่น–อังกฤษ อังกฤษ–ญี่ปุ่น เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับและใช้กันแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน

4. คำที่รับมาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง, ชื่อแร่และชื่อธาตุ ฯลฯ ให้ใช้ตามประกาศครั้งล่าสุด

5. คำภาษาญี่ปุ่นที่รับมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานานและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้ว ให้ใช้ตามเดิม เช่น

Tōkyō [โทเกียว]
Kyōto [เคียวโตะ]
=
=
โตเกียว
เกียวโต

6. สระเดี่ยวสั้น ในภาษาญี่ปุ่นมี 5 เสียง แสดงด้วยอักษรโรมันดังนี้ a, i, u, e และ o การออกเสียงสระสั้นโดยปรกติไม่ปิดเส้นเสียงข้างท้าย ยกเว้นกรณีที่อยู่ในตำแหน่งท้ายคำจะออกเสียงโดยปิดเส้นเสียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้มีลักษณะคล้ายกับเสียงสระสั้นท้ายคำในภาษาไทย (อย่างคำว่า กระท, กะทิ) ในการทับศัพท์กำหนดดังนี้

6.1 สระเดี่ยวสั้นในพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดและไม่ได้อยู่ท้ายคำ ทับศัพท์เป็นสระเสียงยาว เช่น
yama
ocha
Fukui
=
=
=
มะ
อจะ
ฟูกูอิ
ยกเว้นสระ i ทับศัพท์เป็นสระเสียงสั้นในทุกตำแหน่ง เช่น
wasabi
Miki
=
=
วาซาบิ
มิกิ
6.2 สระเดี่ยวสั้นในตำแหน่งท้ายคำ ทับศัพท์เป็นสระเสียงสั้น เช่น
Tanaka
fune
=
=
ทานาก
ฟู
6.3 สระเดี่ยวสั้นในพยางค์ที่มีตัวสะกด ได้แก่ k, m, n, p, s, t ทับศัพท์เป็นสระเสียงสั้น เช่น
gakkō
samma
hontō
Nippon
zasshi
itchi
=
=
=
=
=
=
กักโก
ซัมมะ
ฮนโต
นิปปง, นิปปน
ซัชชิ
อิตจิ

7. สระเดี่ยวยาว ในภาษาญี่ปุ่นมี 5 เสียง ออกเสียงยาวประมาณ 2 เท่าของสระเสียงสั้น แสดงด้วยอักษรโรมันตามระบบเฮ็ปเบิร์นดังนี้ ā, ī, ū, ē และ ō ในการทับศัพท์กำหนดให้ใช้สระเสียงยาวทุกตำแหน่ง เช่น

okāsan
oishī
jūyō
onēsan
sayōnara
=
=
=
=
=
โอกซัง, โอกซัน
โออิชี
จูโ
โอนซัง, โอนซัน
ซายนาระ
ในการใช้ทั่วไปเช่นในสื่อมวลชน อาจพบสระเดี่ยวยาวในรูปสระตัวเดียวคือ a, i, u, e และ o เช่น ชื่อนายกรัฐมนตรี Shinzō Abe มักพบรูปเขียนเป็น Shinzo Abe, ชื่อเมือง Tōkyō มักพบรูปเขียนเป็น Tokyoอย่างไรก็ตาม ในการเขียนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้อักษรโรมันด้วยระบบอื่น อาจพบรูปสระเดี่ยวยาวรูปอื่น ดังนี้ aa, ii, uu, ee, ei, oo, ou และ oh เช่น
okaasan
oishii
juuyoo
oneesan
sensei
sayoonara
koushi
Ohno
=
=
=
=
=
=
=
=
โอกซัง, โอกซัน
โออิชี
จูโ
โอนซัง, โอนซัน
เซ็น
ซายนาระ
คชิ (ขงจื๊อ)
อโนะ
สระ 2 ตัวเรียงต่อกันในบางคำอาจแสดงเป็นคนละคำกัน กรณีเช่นนี้ให้ทับศัพท์แยกเป็นแบบสระเดี่ยวสั้น เช่น
koushi (ko-ushi)
keito (ke-ito)
Ishii (Ishi-i)
=
=
=
อูชิ (ลูกวัว)
อิโตะ (ด้ายขนสัตว์)
อิชิอิ (ชื่อสกุล)
หากมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้รู้หรือค้นหาในพจนานุกรม

8. สระต่างกันที่เรียงติดต่อกัน 2 เสียงขึ้นไป ให้เขียนทับศัพท์เรียงกัน เช่น

kao=าโ
ยกเว้นสระ ai ให้ใช้ ไ– เช่น
haiku=ฮกุ

9. พยัญชนะ ch, k, p และ t เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นคำจะเป็นเสียงพ่นลม (aspirated) แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งอื่นจะเป็นเสียงไม่พ่นลม (unaspirated) หรือพ่นลมค่อนข้างเบา จึงกำหนดให้ทับศัพท์ดังนี้

ตำแหน่งต้นคำตำแหน่งอื่น
ch
k
p
t
=
=
=
=



ch
k
p
t
=
=
=
=



10. พยัญชนะ f ในอักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์น เป็นเสียงพยัญชนะเสียดแทรก ไม่ก้อง เกิดระหว่างริมฝีปากบนกับริมฝีปากล่าง [ɸ] ซึ่งไม่มีในภาษาไทย กำหนดให้ทับศัพท์เป็น ฟ เช่น

Fuji
Fukuoka
=
=
ฟูจิ
ฟูกูโอกะ

11. พยัญชนะ g เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นคำออกเสียง [ɡ] คล้าย ก ให้เขียนทับศัพท์ด้วย ก แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งอื่นออกเสียง [ŋ] ให้เขียนทับศัพท์ด้วย ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้พูดภาษาญี่ปุ่นบางกลุ่มมักออกเสียงพยัญชนะนี้เป็น [ɡ] หรือ [ɣ] ในตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งต้นคำ จึงให้ทับศัพท์เป็น ก ทุกตำแหน่งได้ด้วย เช่น

arigatō
gogo
=
=
อาริาโต, อาริาโต
โกโะ, โกโ

12. พยัญชนะ j เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นคำ เป็นเสียงพยัญชนะกักเสียดแทรก ก้อง เกิดที่ตำแหน่งลิ้นส่วนหน้ากับหลังปุ่มเหงือก [d͡ʑ] เมื่ออยู่กลางคำ บางครั้งเป็นเสียงเสียดแทรก [ʑ] ทั้ง 2 เสียงนี้เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ให้เขียนทับศัพท์ด้วย จ เช่น

kaji=คาจิ

13. พยัญชนะนาสิก n มีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ดังนี้

13.1 ในกรณีที่อยู่ต้นคำหรือต้นพยางค์ ออกเสียง น หรือใกล้เคียงกับ น ให้ทับศัพท์เป็น น เช่น
Narita
kuni
=
=
าริตะ
คูนิ
13.2 ในกรณีที่อยู่ท้ายคำหรือตามด้วยพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ ปรกติออกเสียงเป็นเสียงนาสิก ก้อง ที่ตำแหน่งโคนลิ้นกับลิ้นไก่ [ɴ] ซึ่งใกล้เคียงกับ ง ให้ทับศัพท์เป็น ง แต่บางครั้งเมื่อต้องการปิดคำ ผู้พูดภาษาญี่ปุ่นก็ออกเสียงเป็น น จึงให้ทับศัพท์เป็น น ได้ด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เช่น
Jōmon
bon'odori
=
=
โจม, โจม
โอโดริ, บโอโดริ
13.3 ในกรณีที่อยู่ท้ายพยางค์ ส่วนใหญ่มีการกลมกลืนเสียง (assimilation) ไปตามฐานกรณ์ (articulator) ของพยัญชนะที่ตามมา มีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ดังนี้- ในตำแหน่งท้ายพยางค์ที่ตามด้วย ch, d, j, n, r, s, sh, t, z ออกเสียง น หรือใกล้เคียงกับ น ให้ทับศัพท์เป็น น เช่น
minchō
En
jinja
konnichiwa
renraku
shinsai
manshū
hon
jinzai
=
=
=
=
=
=
=
=
=
มิโจ
เอ็โด
จิจะ
นิจิวะ
เร็รากุ
ชิไซ
มัชู
โต
จิไซ
- ในตำแหน่งท้ายพยางค์ที่ตามด้วย g, h, k, w, y ออกเสียง ง หรือใกล้เคียงกับ ง ให้ทับศัพท์เป็น ง เช่น
ringo
kokusanhin
gin
denwa
honya
=
=
=
=
=
ริโงะ, ริโกะ
โคกูซัฮิง, โคกูซัฮิน
กิโก
เด็วะ
ยะ

14. พยัญชนะ ts เป็นเสียงพยัญชนะกักเสียดแทรก ไม่ก้อง เกิดที่ตำแหน่งปลายลิ้นกับปุ่มเหงือก [t͡s] เป็นเสียงซึ่งไม่มีในภาษาไทย และพยัญชนะ ts นี้เกิดกับสระ u และ ū เท่านั้น กำหนดให้ทับศัพท์ดังนี้

tsu ที่อยู่ต้นคำหรือตามหลังพยัญชนะ ทับศัพท์เป็น สึ เช่น
tsunami
mittsu
=
=
สึนามิ
มิตสึ
tsu ที่ตามหลังสระ ทับศัพท์เป็น ตสึ เช่น
mitsu=มิตสึ
tsū ที่อยู่ต้นคำหรือตามหลังพยัญชนะ ทับศัพท์เป็น ซือ เช่น
tsūyaku
ittsū
=
=
ซือยากุ
อิตซือ
tsū ที่ตามหลังสระ ทับศัพท์เป็น ตซือ เช่น
futsū=ฟุตซือ

15. ชื่อกับชื่อสกุลของคนญี่ปุ่นที่เขียนด้วยอักษรโรมัน มักเขียนชื่อตัว เว้นวรรค และตามด้วยชื่อสกุล ในการทับศัพท์ให้เขียนไปตามนั้น เช่น

Ichirō SUZUKI
Takuya KIMURA
=
=
อิจิโร ซูซูกิ
ทากูยะ คิมูระ
ส่วนชื่อกับชื่อสกุลของคนญี่ปุ่นโดยปรกติเขียนด้วยอักษรคันจิติดกัน ไม่เว้นวรรค และเขียนชื่อสกุลมาก่อนแล้วจึงตามด้วยชื่อตัว หากทับศัพท์จากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น ให้สลับเขียนชื่อตัวขึ้นก่อน เว้นวรรค และตามด้วยชื่อสกุลตามรูปแบบการเขียนในภาษาไทย เช่น
鈴木一朗(すずきいちろう) (SUZUKI, Ichirō)
木村拓哉(きむらたくや) (KIMURA, Takuya)
=
=
อิจิโร ซูซูกิ
ทากูยะ คิมูระ

16. คำนำหน้าชื่อหรือคำบอกประเภทวิสามานยนามในภาษาญี่ปุ่นโดยปรกติจะวางไว้หลังชื่อ ซึ่งต่างกับภาษาไทย ในการทับศัพท์ให้แปลคำเหล่านั้นแล้วยกมาวางไว้ข้างหน้า เช่น

Tanakasan
Aomoriken
Wasedadaigaku
Risonaginkō
=
=
=
=
คุณทานากะ (san เป็นคำเรียกประกอบท้ายชื่อเพื่อแสดงความสุภาพ)
จังหวัดอาโอโมริ (ken แปลว่า จังหวัด)
มหาวิทยาลัยวาเซดะ (daigaku แปลว่ามหาวิทยาลัย)
ธนาคารริโซนะ (ginkō แปลว่า ธนาคาร)
คำบอกประเภทวิสามานยนามที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อเฉพาะ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เกาะ ทะเลสาบ วัด ในการทับศัพท์ให้ทับศัพท์ชื่อเฉพาะนั้นทั้งหมดและอาจใส่คำแปลของคำบอกประเภทวิสามานยนามไว้ข้างหน้าด้วย เช่น
Arakawa
Gassan
Kiyomizudera
Kinkakuji
=
=
=
=
อารากาวะ, แม่น้ำอารากาวะ (kawa แปลว่า แม่น้ำ)
กัซซัง, กัซซัน, ภูเขากัซซัง, ภูเขากัซซัน (san แปลว่า ภูเขา)
คิโยมิซูเดระ, วัดคิโยมิซูเดระ (dera มาจาก tera แปลว่า วัด)
คิงกากูจิ, วัดคิงกากูจิ (ji แปลว่า วัด)
ในการตัดสินว่าจะใส่คำแปลของคำบอกประเภทวิสามานยนามไว้ข้างหน้าหรือไม่ อาจนำรูปแบบที่ใช้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมาพิจารณาประกอบ

17. ในการเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยอักษรโรมันอาจมีการใช้เครื่องหมายยัติภังค์เพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น ในการทับศัพท์ให้เขียนติดกันโดยไม่ต้องใส่เครื่องหมายยัติภังค์ เช่น

Tanaka-san
Aomori-ken
Waseda-daigaku
Risona-ginkō
Kiyomizu-dera
=
=
=
=
=
คุณทานากะ
จังหวัดอาโอโมริ
มหาวิทยาลัยวาเซดะ
ธนาคารริโซนะ
คิโยมิซูเดระ, วัดคิโยมิซูเดระ

18. คำย่อที่เขียนด้วยอักษรโรมัน ให้เขียนชื่อตัวอักษรนั้น ๆ ตามเสียงภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยตามที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ (ฉบับร่าง) ดังนี้

A
D
G
J
M
P
S
V
Y
=
=
=
=
=
=
=
=
=
เอ
ดี
จี
เจ
เอ็ม
พี
เอส
วี
วาย
B
E
H
K
N
Q
T
W
Z
=
=
=
=
=
=
=
=
=
บี
อี
เอช
เค
เอ็น
คิว
ที
ดับเบิลยู
ซี, เซด
C
F
I
L
O
R
U
X

=
=
=
=
=
=
=
=

ซี
เอ็ฟ
ไอ
เอล
โอ
อาร์
ยู
เอ็กซ์

เช่น
NHK
JR
=
=
เอ็นเอชเค
เจอาร์
อย่างไรก็ดี คนญี่ปุ่นอาจออกเสียงตัวอักษรเหล่านี้แตกต่างกับตารางข้างต้น

19. คำที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษรให้เขียนตามเสียงที่ออกและไม่ต้องใส่จุด เช่น

JASSO (Japan Student Services Organization)=จัสโซ

ตารางเทียบเสียง

เสียงพยัญชนะ

พยัญชนะเดี่ยว

ตารางเทียบพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นนี้ใช้อักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นหลัก แต่ผู้ใช้อาจพบอักษรโรมันระบบอื่นในตำราหรือเอกสารโบราณ จึงได้เทียบอักษรโรมันระบบอื่นไว้ ส่วนตัวอย่างที่ให้ใช้อักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์น

อักษรโรมันเงื่อนไขเสียงใช้ตัวอย่างคำคำทับศัพท์
ระบบเฮ็ปเบิร์นระบบอื่น
 b b b บ bon'odori งโอโดริ, นโอโดริ
 obi โอบิ
 ch t (+ i), ty ต้นคำ t͡ɕʰ ช chīsai ชีไซ
 ตำแหน่งอื่น t͡ɕ จ konnichiwa คนนิจิวะ
 d d d ด denwa เด็งวะ
 Edo เอโ
 f h (+ u) ɸ ฟ fune ฟูเนะ
 Gifu กิฟุ
 g g ต้นคำ ɡ ก ginkō กิงโก
 ตำแหน่งอื่น ŋ, ɡ~ɣ[# 1] ง, ก arigatō อาริาโต, อาริาโต
 h h ตามด้วย a, e, o h ฮ hashi าชิ
 ตามด้วย i ç Hiroshima ฮิโรชิมะ
 j d (+ i), dy,
 z (+ i), zy
 d͡ʑ~ʑ จ Jōmon โมง, โมน
 kaji คาจิ
 k k ต้นคำ kʰ ค kao าโอะ
 ตำแหน่งอื่น k ก niku นิกุ
 gakkō กั
 m n (+ b, m, p) m ม mado าโดะ
 shimbun ชิบุง, ชิบุน
 samma ซัมะ
 empitsu เอ็ปิตสึ
 n n ต้นพยางค์และตามด้วย a, e, o, u n น Nagoya าโงยะ, าโกยะ
 kinoko คิโโกะ
 ต้นพยางค์และตามด้วย i ɲ น Nippon นิปปง, นิปปน
 konnichiwa คนนิจิวะ
 ตามด้วย ch, j, n (+ i), ny- ɲ น minchō มิโจ
 jinja จิจะ
 konnichiwa คนิจิวะ
 konnyaku คเนียกุ
 ตามด้วย d, r, t, z, n (+ a, e, o, u) n น En เอ็โด
 renraku เร็รากุ
 hon ฮโต
 jinzai จิไซ
 ginnan กินัง, กินัน
 ตามด้วย g, k ŋ ง ringo ริโงะ, ริโกะ
 gin กิโก
 ตามด้วย h,[# 2] w, y ɰ̃ ง kokusanhin โคกูซัฮิง, โคกูซัฮิน
 denwa เด็วะ
 honya ฮยะ
 ตามด้วย s, sh ɰ̃ น shinsai ชิไซ
 manshū มัชู
 ตามด้วยสระ ɰ̃ ง, น bon'odori บโอโดริ, บโอโดริ
 ท้ายคำ ɴ ง, น ichiban อิจิบั, อิจิบั
 p p ต้นคำ pʰ พ pen เพ็ง, เพ็
 ตำแหน่งอื่น p ป tempura เท็มปูระ
 Nippon นิปปง, นิปป
 r r ɾ ร renraku เร็ากุ
 Nara นา
 s s s ซ sakana ากานะ
 kissaten คิซซาเต็ง, คิซซาเต็น
 ตามด้วย sh ɕ ช zasshi ซัชิ
 sh s (+ i), sy ɕ ช Shōwa โวะ
 sashimi ซาชิมิ
 t t ต้นคำ tʰ ท te เ
 ตำแหน่งอื่น t ต migite มิงิเตะ, มิกิเตะ
 matcha มัจะ
 kitte คิ
 tsu tu ต้นคำ t͡sɯ สึ tsunami สึนามิ
 ตามหลังพยัญชนะ สึ mittsu มิตสึ
 ตามหลังสระ ตสึ mitsu มิตสึ
 tsū tū ต้นคำ t͡sɯː ซือ tsūyaku ซือยากุ
 ตามหลังพยัญชนะ ซือ ittsū อิตซือ
 ตามหลังสระ ตซือ futsū ฟุตซือ
 w[# 3] w ɰ ว watashi าตาชิ
 Fujiwara ฟูจิาระ
 y y j ย yama ามะ
 Yayoi าโอิ
 z d (+ u) d͡z~z ซ zō โ
 mizu มิซุ
หมายเหตุ
  1. ผู้พูดภาษาญี่ปุ่นบางกลุ่มมักออกเสียงพยัญชนะ g ในตำแหน่งอื่นเป็น [ɡ] หรือ [ɣ] ด้วย
  2. ส่วนใหญ่พบในคำยืม
  3. ในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน w จะตามด้วยสระ a เท่านั้น ส่วน w ที่ตามด้วยสระอื่นปรากฏในคำที่สะกดแบบเก่า เช่น Iwo Jima ซึ่งปัจจุบันสะกดว่า Iō Jima
พยัญชนะควบ

ตารางเทียบพยัญชนะควบภาษาญี่ปุ่นนี้ใช้อักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นหลัก มีพยัญชนะที่ควบกับเสียง y ได้แก่ b, g, h, k, m, n, p, r เป็น by-, gy-, hy-, ky-, my-, ny-, py-, ry- ประสมกับสระได้ 3 เสียงคือ a, o, u ในภาษาไทยไม่สามารถเขียนให้ตรงกับเสียงดังกล่าว จึงอนุโลมให้ทับศัพท์โดยใช้พยัญชนะต้นเดี่ยวกับสระดังนี้

อักษรโรมันเสียงใช้ตัวอย่างคำคำทับศัพท์
ระบบเฮ็ปเบิร์นระบบอื่น
-ya -ya ʲa เ–ีย hyaku เฮียกุ
 kyakkan เคียกกัง, เคียกกัน
 -yā -yaa, -yâ ʲaː เ–ีย k, kyaa เคีย
 -yo -yo ʲo เ–ียว ryo เรียวโก
 hyotto เฮียวโตะ[# 1]
 -yō -yoo, -you, -yoh, -yô ʲoː เ–ียว rri, ryoori, ryouri เรียวริ
 -yu -yu ʲɯ –ิว byuffe[# 2] บิวเฟะ[# 1]
 -yū -yuu, yû ʲɯː –ีว kkō, kyuukoo คีวโก
 Rk, Ryuukyuu รีวกีว
หมายเหตุ
  1. 1 2 พยัญชนะควบในภาษาญี่ปุ่น -yo และ -yu กำหนดให้ทับศัพท์เป็น เ–ียว และ –ิว หากมีพยัญชนะสะกดให้ตัดออก เนื่องจากมีพยัญชนะ ว สะกดอยู่แล้ว
  2. -yu ไม่พบตัวอย่างคำศัพท์ในคำญี่ปุ่นแท้ มักพบในคำยืม

เสียงสระ

อักษรโรมันเสียงเงื่อนไขใช้ตัวอย่างคำคำทับศัพท์
ระบบเฮ็ปเบิร์นระบบอื่น
A
 a a a พยางค์เปิด[# 1] ไม่ได้อยู่ท้ายคำ –า wasabi วบิ
 พยางค์เปิด อยู่ท้ายคำ –ะ yama ยาม
 พยางค์ปิด[# 2] –ั gakkō กักโก
 ā aa, â aː –า okāsan, okaasan โอกซัง, โอกซัน
 ai[# 3] ai ai ไ– haiku ฮกุ
E
 e e e พยางค์เปิด ไม่ได้อยู่ท้ายคำ เ– eki อกิ
 พยางค์เปิด อยู่ท้ายคำ เ–ะ fune ฟู
 พยางค์ปิด เ–็ denwa เด็งวะ
 ē ee, ê eː เ– onēsan, oneesan โอนซัง, โอนซัน
 ei[# 4] ei eː เ– sensei เซ็น
I
 i i i –ิ kaki คากิ
 kin คิง, คิ
 ī ii,[# 5] î iː –ี oishī, oishii โออิชี
O
 o wo o พยางค์เปิด ไม่ได้อยู่ท้ายคำ โ– ocha อจะ
 พยางค์เปิด อยู่ท้ายคำ โ–ะ oto โอ
 พยางค์ปิด โ–ะ (ลดรูป) konnichiwa คนนิจิวะ
 ō oo, ou, oh, ô oː โ– sayōnara, sayoonara ซายนาระ
 Sōseki, Souseki ซเซกิ
 Ōno, Ohno อโนะ
U
 u[# 6] u ɯ พยางค์เปิด ไม่ได้อยู่ท้ายคำ –ู Kabuki คาบูกิ
 พยางค์เปิด อยู่ท้ายคำ –ุ isu อิซุ
 พยางค์ปิด –ุ shimbun ชิมบุง, ชิมบุ
 ū[# 7] uu, û ɯː –ู jūyō, juuyoo จูโย
หมายเหตุ
  1. พยางค์เปิด หมายถึง พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย
  2. พยางค์ปิด หมายถึง พยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย
  3. คำที่มีสระ a และ i ในคำคนละคำที่มาอยู่ติดกัน จะออกเสียงแยกกัน ให้ทับศัพท์เป็น –าอิ เช่น 歯科医(しかい) shikai = ชิกาอิ
  4. คำที่มีสระ e และ i ในคำคนละคำที่มาอยู่ติดกัน จะออกเสียงแยกกัน ให้ทับศัพท์เป็น เ–อิ เช่น 毛糸(けいと) keito = อิโตะ
  5. คำที่มีสระ i และ i ในคำคนละคำที่มาอยู่ติดกัน จะออกเสียงแยกกัน ให้ทับศัพท์เป็น –ิอิ เช่น 石井(いしい) Ishii = อิชิอิ
  6. u ที่ตามหลังพยัญชนะ ts กำหนดให้ทับศัพท์เป็น –ึ เช่น tsunami = สึนามิ
  7. ū ที่ตามหลังพยัญชนะ ts กำหนดให้ทับศัพท์เป็น –ือ เช่น tsūyaku = ซือยากุ

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทับศัพท์ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง การทัพกัวดัลคะแนล